การชำระภาษีรถบรรทุกส่วนบุคคลและรถแทรกเตอร์ที่ไม่ได้ใช้ในการเกษตร

หลักเกณฑ์

การชำระภาษีรถประจำปีสามารถให้บุคคลอื่นไปดำเนินการแทนได้โดยไม่ต้องมอบอำนาจ โดยอายุภาษีของรถกับหลักฐานการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.) จะต้องหมดตรงกันในปีถัดไปหรือต้องมีอายุมากกว่าภาษีประจำปีของรถ และการชำระภาษีรถประจำปีสามารถชำระล่วงหน้าได้ 3 เดือน (กรณีพ.ร.บ.ยังไม่ขาดอายุ พ.ร.บ.จะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 90 วัน ถึงจะสามารถนำมาชำระภาษีรถยนต์ได้ แต่ถ้าพ.ร.บ.มีอายุน้อยกว่า 90 วัน จะต้องซื้อพ.ร.บ.ใหม่)

หลักเกณฑ์การนำรถเข้าตรวจสภาพ

• รถยนต์ ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปี (นำรถเข้าตรวจสภาพที่ ตรอ. เท่านั้น)

• รถยนต์ ที่อายุการใช้งานยังไม่ครบ หรือครบกำหนดตรวจสภาพ กำหนดตรวจสภาพ มีการค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี (นำรถเข้าตรวจสภาพ ณ สำนักงานขนส่ง หรือ ตรอ.)

• รถยนต์ ที่อายุการใช้งานยังไม่ครบกำหนดตรวจสภาพ มีการค้างชำระภาษี แต่ไม่เกิน 1 ปี ไม่ต้องนำรถไปตรวจสภาพทำเรื่องชำระภาษีเพียงอย่างเดียว

• กรณีมีการค้างชำระเกิน 3 ปี ตรวจสภาพที่ สำนักงานขนส่งเท่านั้น (ใช้ข้อมูลหัวข้อการชำระภาษีรถค้างเกิน 3 ปี)

• ยกเว้นกรณีเป็นรถที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ตรวจสภาพกับนายทะเบียน เช่น กรณีการขอโอน พร้อมชำระภาษีเปลี่ยนสี เปลี่ยนเครื่อง พร้อมขอเสียภาษี ก็ไม่ต้องใช้หลักฐานตามข้อนี้ให้นำรถเข้าตรวจสภาพกับหน่วยงานของกรมการขนส่งได้เลย

เอกสารหลักฐาน

1. สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ ( สำเนาสมุดคู่มือจดทะเบียนรถก็ได้ ทั่วประเทศ )

2. หลักฐานการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.)

3. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ ต.ร.อ. สำหรับรถที่กำหนดให้ผ่านการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชนก่อนอายุทะเบียนครบ 7 ปีขึ้นไป

อัตราภาษี

ให้เก็บภาษีตามน้ำหนักรถ ในอัตราดังต่อไปนี้

(ก) น้ำหนักไม่เกิน 500 กิโลกรัม คันละ 300 บาท

(ข) น้ำหนักตั้งแต่ 501-750 กิโลกรัม คันละ 450 บาท

(ค) น้ำหนักตั้งแต่ 751-1,000 กิโลกรัม คันละ 600 บาท

(ง) น้ำหนักตั้งแต่ 1,000-1,250 กิโลกรัม คันละ 750 บาท

(จ) น้ำหนักตั้งแต่ 1,251-1,500 กิโลกรัม คันละ 900 บาท

(ฉ) น้ำหนักตั้งแต่ 1,501-1,750 กิโลกรัม คันละ 1,050 บาท

(ช) น้ำหนักตั้งแต่ 1,751-2,000 กิโลกรัม คันละ 1,350 บาท

(ซ) น้ำหนักตั้งแต่ 2,001-2,500 กิโลกรัม คันละ 1,650 บาท

(ฌ) น้ำหนักตั้งแต่ 2,501-3,000 กิโลกรัม คันละ 1,950 บาท

(ญ) น้ำหนักตั้งแต่ 3,001-3,500 กิโลกรัม คันละ 2,250 บาท

(ฎ) น้ำหนักตั้งแต่ 3,501-4,000 กิโลกรัม คันละ 2,550บาท

(ฏ) น้ำหนักตั้งแต่ 4,001-4,500 กิโลกรัม คันละ 2,850 บาท

(ฐ) น้ำหนักตั้งแต่ 4,501-5,000 กิโลกรัม คันละ 3,150 บาท

(ฑ) น้ำหนักตั้งแต่ 5,001-6,000 กิโลกรัม คันละ 3,450 บาท

(ฒ) น้ำหนักตั้งแต่ 6,001-7,000 กิโลกรัมคันละ 3,750 บาท

(ณ) น้ำหนักตั้งแต่ 7,001 กิโลกรัม ขึ้นไป ค้นละ 4,050 บาท

อัตราโทษปรับ

• ชำระภาษีล่าช้า ปรับ ร้อยละ 1 ต่อเดือนจนถึงวันชำระ

สถานที่ชำระภาษีประจำปี

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.gcc.go.th/?p=2981

บทความล่าสุด

ข่าวล่าสุด