รู้จักระบบเบรก ABS คืออะไร ? ทำไมถึงถูกติดตั้งในรถยนต์ทุกรุ่น

        ระบบเบรก ABS (Anti-lock Braking System) คือระบบเบรกที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันล้อทั้งสี่หรือบางล้อไม่ให้ล้อติดจับกับพื้นถนนในขณะที่คุณกำลังทำการเบรก ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการสูญเสียการควบคุมขณะเบรก และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเบรกทั้งหมดในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือการเบรกในสภาวะที่พื้นถนนมีความลื่นสูง

ระบบ ABS ทำงานโดยตรวจจับการล็อกล้อขณะเบรกและจัดการให้ระบบเบรกปล่อยและกดรับภายในเวลาสั้นๆ เพื่อให้ล้อไม่ติดจับกับพื้นถนน ซึ่งช่วยให้คุณยังคงควบคุมได้ตลอดเวลาขณะที่กำลังเบรก ทำให้รถยังสามารถทำการหันหรือหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุได้  ดังนั้นระบบ ABS มักจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบควบคุมเบรก (Electronic Brake Force Distribution, EBD) ซึ่งช่วยให้การกระจายแรงเบรกไปยังล้อแต่ละล้อมีประสิทธิภาพมากที่สุด  การใช้ระบบ ABS ช่วยลดอันตรายจากการสูญเสียควบคุมขณะเบรกในสภาวะลื่นหรือฉุกเฉิน และช่วยให้รถยนต์คงทนและปลอดภัยมากยิ่งขึ้นในสภาวะการขับขี่ที่ต่างๆ

เราเชื่อว่า ระบบเบรก ABS หลายคนคงคุ้นหูกันเป็นอย่างดี และคงมีความเข้าใจในระดับหนึ่งว่าเป็นเรื่องของระบบเบรกชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ช่วยให้รถหยุด หรือจอดได้อย่างปลอดภัย ซึ่งจริง ๆ แล้วระบบเบรก ABS เปรียบเสมือนตัวช่วย ผู้ช่วยคนสำคัญของระบบเบรก วันนี้ IDDriver สถาบันฝึกอบรม สอนขับรถ ไอดีไดร์ฟ จะพาไปทำความรู้จักให้มากขึ้นว่าระบบเบรก ABS นั้นมีความสำคัญอย่างไร รวมถึงมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง ไปดูกันค่ะ

เบรก ABS
เบรก ABS

ABS คืออะไร ?

         ABS หรือ Anti-Lock Brake System คือ ระบบป้องกันการเบรกจนล้อล็อก หรือล้อตายจนเป็นสาเหตุทำให้ไม่สามารถควบคุมรถได้ โดยระบบนี้จะเข้ามาช่วยทำให้รถมีแรงเฉื่อยสามารถไถลไปกับพื้นถนนหากมีการเบรกฉุกเฉิน ช่วยให้ผู้ขับขี่ยังควบคุมรถให้จอดหรือหยุดอย่างปลอดภัยได้

          ด้วยเหตุนี้ระบบ ABS จึงถูกพัฒนาเข้ามาช่วยเสริมระบบเบรกพื้นฐาน ซึ่งหลาย ๆ คนอาจเข้าใจไปว่ามันคือชื่อของระบบเบรกพื้นฐาน แต่จริง ๆ แล้ว ระบบเบรกที่มีอยู่จะมีแค่ดิสก์เบรก และดรัมเบรกเท่านั้น โดย ABS เปรียบเสมือน          เป็นผู้ช่วยคนสำคัญนั่นเอง

ระบบ ABS ทำงานอย่างไร ?

          ระบบเบรก ABS เป็นการผสมผสานระหว่างระบบกลไก และระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่คือป้องกันล้อไม่ให้เกิดการล็อก ซึ่งจะไม่ได้ทำงานตลอดเวลา แต่จะทำงานเมื่อมีการใช้เบรกหนักมากกว่าปกติ

          ABS จะประกอบด้วยฟันเฟืองวงแหวนที่ติดตั้งอยู่กับเพลาหมุนพร้อมเซ็นเซอร์ เมื่อล้อรถเริ่มหมุนฟันเฟืองจะหมุนตาม จากนั้นเซ็นเซอร์ก็จะทำการตรวจจับความเร็วการหมุนของฟันเฟือง แล้วรายงานอัตราความเร็วที่ได้มาไปให้กล่องสมองกล ABS ซึ่งปกติทั่วไปทุกล้อจะมีเซ็นเซอร์เพื่อตรวจสอบความเร็วติดอยู่ทุกล้อ

          เมื่อระบบ ABS ทำงานสมองกลจะสั่งการให้ชุดปั๊มเบรกทำงาน โดยจะมีการจับและปล่อยระหว่างจานเบรกกับผ้าเบรกที่ 16-50 ครั้งต่อวินาที หรือเปรียบได้ว่าเบรกและปล่อยรัว ๆ แบบอัตโนมัติทำให้ล้อไม่ล็อก ผู้ขับสามารถควบคุมทิศทางของรถได้

ข้อดีของ ABS

          – ป้องกันล้อล็อกเมื่อต้องเบรกกะทันหัน

          – สามารถควบคุมพวงมาลัยและบังคับให้ไปตามทิศทางที่ต้องการ

          – ยางไม่สึกหรอไว

เบรก ABS

ข้อเสีย

          – มีเสียงดังเมื่อระบบทำงาน อาจทำให้ตกใจได้

          – มีอาการสะเทือนเข้ามาถึงภายในรถ

          – เพิ่มระยะเบรกยาวขึ้น

          – มีค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุงแพงกว่าเบรกธรรมดา

ระบบเบรก ABS มีวิธีใช้อย่างไร

          ระบบเบรก ABS จะเริ่มกระบวนการทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อตรวจพบว่ามีการเหยียบเบรกที่รุนแรงกว่าปกติ เโดยจะมีอาการสะเทือนหรือสั่นเล็กน้อยที่เท้าเนื่องจากแรงดันของเบรกที่มีการผ่อนและดันเป็นระยะตามหลักการข้างต้น ข้อแนะนำคือไม่ควรถอนเท้าจากเบรกเพราะจะเป็นการเริ่มต้นกระบวนการใหม่ อาจทำให้การสร้างแรงดันไม่สมบูรณ์เนื่องจากมีความถี่ของการสั่งการมากเกินไป จนระบบ ABS ไม่ทำงาน

          ทั้งนี้ ระบบเบรก ABS กลายเป็นระบบมาตรฐานที่มีในรถยนต์ทุกรุ่น เปรียบเสมือนตัวช่วยสำคัญที่ทำให้สามารถควบคุมหรือบังคับรถยนต์ให้ชะลอ หยุดได้อย่างปลอดภัยโดยไม่เสียการทรงตัวหากต้องเบรกฉุกเฉิน แต่ถึงแม้ระบบเบรก ABS จะช่วยได้ดีแค่ไหนแต่ถ้าเราขับขี่ด้วยความประมาท ใช้ความเร็วสูงเกินไป ต่อให้ระบบเบรกจะดีแค่ไหนก็ไม่อาจช่วยได้เช่นกัน

ขอบคุณข้อมูลเครดิต : car.kapook.com

บทความล่าสุด

ข่าวล่าสุด