ขับรถขึ้นเขา-ลงเขา อย่างไรให้ปลอดภัยด้วยรถเกียร์ธรรมดา&เกียร์ออโต้

ใกล้ช่วยเทศกาลวันหยุดยาว แพลนการเดินทางไกลเที่ยวพักผ่อนหรือ เดินทางกลับบ้านไปเยี่ยมครอบครัวเราจึงต้องควรเรียนรู้เส้นทางหลักเพราะทางส่วนใหญ่ ต้องขับรถขึ้นเขาลงเขาทั้งนั้น ซึ่งเส้นทางเหล่านี้มักมีความอันตรายแอบซ้อนอยู่มาก หากไม่มีความชำนาญ หรือไม่ระมัดระวัง อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ง่าย ทาง ID Driver สถาบันสอนขับรถ ต่อใบขับขี่ เรียนขับรถ จะมาแนะนำเทคนิคขับรถขึ้นเขาลงเขา อย่างปลอดภัย สำหรับรถเกียร์ธรรมดาและ รถเกียร์ออโต้อย่างปลอดภัยและมั่นใจยิ่งขึ้นมาฝากกันค่ะ

ขับรถขึ้นเขา-ลงเขา เกียร์กระปุก ต้องใช้เกียร์อะไรบ้าง?

รถเกียร์กระปุก (Manual Transmission) หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “รถเกียร์ธรรมดา” คือ ระบบเกียร์ที่ผู้ขับรถต้องควบคุมการเปลี่ยนเกียร์ด้วยตนเองจัดการทุกอย่างเอง เช่น เข้าเกียร์ เปลี่ยนเกียร์ หรือปล่อยคลัตช์ ให้เหมาะสมกับการขับขี่ ณ ขณะนั้น สำหรับใครที่สงสัยว่าขับรถขึ้นเขาใช้เกียร์อะไร สำหรับเกียร์กระปุก

1.วิธีขับรถขึ้นเขาต้องใช้เกียร์ต่ำ

ขับรถขึ้นเขาหรือลงเขาผู้ขับรถมือใหม่ที่ไม่เคยขับรถขึ้นดอยเลยอาจคาดคะเนไม่ถูก ว่าทางขึ้นเขาจะมีความชันมากแค่ไหน ดังนั้นให้เราคิดเอาไว้เลยนะคะ ว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ขับรถขึ้นเขาแล้วความเร็วรถถูกลดลง ควรเปลี่ยนเป็นเกียร์ต่ำ (เกียร์1หรือ เกียร์​ 2) เพราะถ้าใช้เกียร์สูงมากกว่านี้ เครื่องยนต์จะไม่มีพลังมากพอในการฉุดให้รถขึ้นเขาได้

2.ขับรถขึ้นเขาแล้วต้องหยุดระหว่างทาง

 ในขณะที่ขับรถขึ้นดอยหรือเขาแล้วจำเป็นต้องหยุดรถ หากจะเริ่มเดินทางต่ออีกครั้ง ให้สตาร์ทรถแล้วเข้าเกียร์​ 1 พร้อมกับใช้ปลดเบรกมือควบคู่กัน เพราะช่วยให้รถไม่ไหลเวลาที่เราถอนเท้าออกจากคลัตช์

3.ขับรถลงเขาต้องใช้เกียร์อะไร

ขับรถลงเขาต้องใช้ เกียร์​ 1 หรือ เกียร์ 2 เช่นเดียวกับขับรถขึ้นเขาจะปล่อยให้ไกลไปก็ได้ด้วยเกียร์ว่าง เพราะเป็นทางลาดลงเหมือนสไลด์เดอร์ แต่อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ ใครจะรู้หรือคาดคิดว่าจะมีสัตว์ป่าออกมาตอนไหน หรือจะมีก้อนหิน ดินไหลตกมาหรือเปล่า เราจะได้สามารถควบคุมเบรกได้ทัน ไม่ให้รถเสียการทรงตัว

วิธีขับรถเกียร์ออโต้ขึ้นเขา-ลงเขา ต้องขับอย่างไร ?

เกียร์ออโต้ หรือ Automatic เป็นเกียร์รถยนต์ที่ทำให้ผู้ขับขับรถง่ายขึ้น ถ้าขับรถบนถนนทางหลวงในเมือง เพียงใช้ตำแหน่ง D ก็สามารถใช้งานได้แล้ว แต่ขับรถเกียร์ออโต้ขึ้นเขาไม่ใช่แบบนั้นเลย

1.ขับรถขึ้นเขาด้วยเกียร์ออโต้

     ดูความชันของเส้นทางด้วยว่าชันมากหรือชันน้อย หากขับเกียร์ D แล้วเครื่องยนต์เร่งไม่ขึ้น ให้เปลี่ยนมาใช้เกียร์ D1-D2 เพื่อให้รถขับเคลื่อนไปได้ และหาความเร็วที่เหมาะสมเพื่อควบคุมรถ

หลังจากนั้นค่อยกลับมาใช้เกียร์​ D ถ้าเป็นทางราบปกติ หากขับเกียร์​ D ตลอดระยะทางก็ทำได้แต่จะทำให้เกียร์ร้อนได้ การใช้เกียร์ต่ำเลยทำให้รถวิ่งได้อย่างต่อเนื่อง

2.ขับรถลงเขาด้วยเกียร์ออโต้

     เช่นเดียวกับวิธีขับรถขึ้นเขาด้วยเกียร์กระปุกคือ ห้ามใส่เกียร์ว่าง หรือ N เพราะจะทำให้รถไหลแล้วเสียการควบคุม ทางที่ดีควรเปลี่ยนเป็นเกียร์ D1-D2 เพื่อรักษาความเร็วของรถให้เสถียร รถจะวิ่งหน่วง ๆ และช้าลง ทำให้คุณขับรถลงเขาอย่างปลอดภัย แล้วที่สำคัญไม่เหยียบคันเร่ง และไม่เหยียบเบรกยาว ๆ

รูปภาพประกอบด้วย ท้องฟ้า, คน, กลางแจ้ง, กระจกเงา

คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ
  • ความเร็วในการขับรถขึ้นเขา

ด้วยความที่การขับรถขึ้นดอย หรือขับรถขึ้นเขาเป็นเส้นทางที่ชันมาก ทำให้ต้องรักษาความเร็วอยู่ที่ 50-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพราะถ้าขับไวมากๆ จะทำให้คุณสูญเสียการบังคับรถ เหยียบเบรกรถยนต์ได้ยาก และก่อให้เกิดอุบัติเหตุรถชน หรือขับรถตกเขาได้

  • ความเร็วในการขับรถลงเขา

ก่อนอื่นต้องหมั่นเหยียบเบรกรถยนต์เป็นระยะ เพราะถ้าเหยียบค้างนาน ๆ จะทำให้เกิดเบรกไหม้ หรือเบรกแตกได้ และความเร็วควรรักษาระดับให้คงที่ 30-50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

  • ความเร็วที่ไม่ให้ขับรถหลุดโค้ง

ขับรถบนถนนทางหลวงเวลาเข้าโค้งก็ว่าอันตรายแล้ว แต่ขับรถขึ้นลงเขาและต้องเข้าโค้ง คงทวีคูณความน่ากลัวสำหรับมือใหม่มากๆ เพราะถ้าหลุดโค้งขึ้นมาจะทำให้ร่างกายและทรัพย์สินเสียหาย ดังนั้น ควรลดความเร็วให้อยู่ที่ 40-50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

  • ปล่อยเกียร์ว่างทำให้รถไหล

ปกติแล้วเรามักจะใช้เกียร์ว่างไว้เวลาจอดรถซ้อนคันอื่นในลานจอดรถ เพื่อให้ใครก็ตามสามารถเข็นรถไปมาได้ แต่ในกรณีนี้ที่ขับรถลงเขา ไม่ควรใช้เกียร์ว่าง เพราะทางลงเขาเป็นทางลาดเหมือนสไลเดอร์ ทำให้รถไหลด้วยความเร็วสูง จึงควบคุมหรือใช้เบรกได้อยาก ซึ่งก่อให้เกิดอุบัติเหตุรถชนได้

ข้อควรระวังในการขับรถลงเขา !!

1. ห้ามใช้เบรกตลอดเวลา

หากเปรียบเทียบการขับรถขึ้น-ลงเขาแล้ว การขับลงเขานั้นถือว่ามีความยาก และอันตรายกว่ากันมาก เพราะรถจะเคลื่อนที่ได้เร็วตามความลาดชันของถนน ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องเหยียบเบรกเพื่อชะลอความเร็วรถ แต่การเหยียบเบรกมากไป ก็อาจทำให้เบรกไหม้หรือเบรกแตกได้ เราจึงไม่ควรเหยียบเบรกแช่ไว้เป็นเวลานาน ๆ แต่ควรใช้การแตะแล้วปล่อย และควรตรวจสอบเบรกรถก่อนออกเดินทางให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยและพร้อมใช้งาน

2. ใช้เกียร์ต่ำทุกครั้งที่ลงเขา

การขับรถลงเขานั้นควรใช้เกียร์ต่ำเป็นหลัก ถ้าเป็นเกียร์ธรรมดาคือ เกียร์ 1-2 ส่วนเกียร์ออโต้ คือ เกียร์ D2, D1, 2 หรือ L เพราะการใช้เกียร์ต่ำนั้นจะทำให้เครื่องยนต์มีแรงฉุด แรงดึงของเครื่องยนต์ หรือที่เรียกกันว่า Engine Brake ซึ่งเป็นตัวช่วยในการลดความเร็ว และลดการใช้เบรกได้อีกด้วย

3. ไม่ควรเหยียบคลัตช์

ในรถเกียร์ธรรมดาขณะขับลงเขา ไม่ควรเหยียบคลัตช์ค้างไว้ เพราะการเหยียบคลัตช์นั้นเหมือนเป็นการเข้าเกียร์ว่าง จะทำให้กำลังแรงฉุดของเครื่องยนต์หายไป รถจะมีความเร็วเพิ่มมากขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

4. ไม่ควรใช้เกียร์ว่างลงเขา

การขับรถลงทางลาดชัน หรือภูเขา ห้ามใส่เกียร์ว่าง ” ปล่อยรถให้ไหลโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้เสียการทรงตัว เนื่องจากรถนั้นมีน้ำหนักมาก ถ้าผู้ขับปล่อยรถที่เกียร์ว่าง รถจะพุ่งลงเขาด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามแรงโน้มถ่วงโลก ซึ่งจะไม่มีแรงฉุดหรือแรงดึงจากเครื่องยนต์ อาจทำให้เบรกไม่อยู่และเกิดอุบัติเหตุได้

        เพื่อให้ทุกการเดินทางของเราถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัย หัวใจสำคัญของการขับรถขึ้นเขา-ลงเขา คือ การควบคุมความเร็วรถกับเกียร์ให้ทำงานสัมพันธ์กัน เพื่อให้รถสามารถวิ่งต่อไปได้เรื่อย ๆ เครื่องยนต์ทำงานได้ตามปกติ ผ้าเบรกไม่ไหม้จนทำให้เบรกแตก ซึ่งเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุที่เรามักได้ยินกันบ่อย ๆ แต่อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้เกียร์จะขึ้นอยู่กับความชันของเนินเขาและประเภทของรถที่ขับด้วยเช่นกัน และที่สำคัญ ควรเช็กสภาพรถยนต์ก่อนออกเดินทางเสมอ และทำประกันรถยนต์เพิ่มความสบายใจในการเดินทางได้มากยิ่งขึ้นค่ะ

บทความล่าสุด

ข่าวล่าสุด